วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

    10 วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางได้สวยเป๊ะ




          ปลูกต้นไม้ในกระถางเป็นไอเดียที่ดี และเหมาะกับคนรักต้นไม้แต่ไม่มีพื้นที่เพียงพอ
ในการปลูก อีกทั้งการปลูกต้นไม้ ทั้งไม้ดอก หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ไว้ในกระถางยังสามารถนำมาประดับตกแต่งภายในอาคารได้ เพราะเคลื่อนย้ายง่าย และดูแลไม่ยากเท่าไร แต่ถ้าคุณกำลังนึกอยากปลูกต้นไม้ในกระถางอยู่พอดี แต่ยังไม่รู้จะปลูกอย่างไร วันนี้เรามี 10 วิธีปลูกต้นไม้ในกระถางให้สวยเป๊ะมาฝากกันด้วยค่ะ
 1. เลือกกระถางให้เหมาะสม


       ขนาดกระถางและขนาดต้นไม้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ที่เราควรต้องคำนึงถึง
 เพราะหากต้นไม้มีขนาดใหญ่หรือเล็กกว่ากระถาง ก็จะดูไม่สมดุล ดังนั้นจึงควรเลือก
กระถางให้เหมาะสม รวมไปถึงต้องตรงกับความต้องการของเราด้วย เช่น หากว่าต้นไม้
เป็นพันธุ์ที่โตเร็ว และต้องเปลี่ยนกระถางบ่อยๆก็ควรเลือกใช้กระถางใหญ่ที่มีลักษณะกลม 
ปากกว้าง ซึ่งเป็นกระถางที่ใช้กันทั่วไปและเป็นที่นิยม เพราะง่ายต่อการย้ายต้นไม้ลงดิน
หรือถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบจัดสวน เคลื่อนย้ายตำแหน่งกระถางต้นไม้บ่อยๆ ก็ควรเลือก
     ใช้กระถางที่ทำจากโฟม หรือกระถางที่ทำมาจากไฟเบอร์กลาสเพราะมีความเบา 
เคลื่อนย้ายสะดวก ส่วนถ้าต้องการกระถางที่มีความหนักแน่น ก็ควรเลือกใช้กระถางเซรามิก 
หรือกระถางที่ทำมาจากปูนค่ะ

 2. ควรใช้ดินผสม

          ดินที่ใช้ในกระถางต้นไม้ควรจะเป็นดินปนทราย ที่มีพีทมอส ปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว ถ่านป่น หรืออิฐป่น ผสมอยู่ด้วย เพื่อช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ไม่มีความเป็นกรด-ด่างในดินมากเกินไป และเพื่อให้ดินถ่ายเทอากาศ และอุ้มน้ำได้ดี นอกจากนี้ควรหมั่นพรวนดินในกระถางด้วยตะเกียบหรือไม้แหลมก็ได้ และควรใส่ปุ่ยเพื่อบำรุงให้ต้นไม้เจริญงอกงามอยู่เสมอด้วย

 3. ปลูกพืชตามความชอบ

          การจะปลูกพืชในกระถางให้สวยงาม สำคัญที่คุณต้องชอบต้นไม้หรือดอกไม้ชนิดนั้นด้วย หากว่าคุณเป็นคนที่ชอบไม้ดอก ก็เลือกปลูกมะลิ กุหลาบ หอมเจ็ดชั้น เป็นต้น แต่ถ้าชอบพืชที่มีความทนทาน และเป็นไม้มงคลก็เลือกปลูกพลูด่าง เศรษฐีเรือนใน เป็นต้น ส่วนคนที่ชอบไม้ดอกพุ่มกะทัดรัด แนะนำให้ปลูกแอฟริกันไวโอเลต พิทูเนีย หรือเฟิร์นต่าง ๆ ก็ได้ ชอบแบบไหน ก็เลือกปลูกกันได้ตามสบายเลยจ้า

 4. เลือกต้นไม้ที่มีสุขภาพดี

          ต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องมีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และสุขภาพดี ไม่มีโรคพืช หรือแมลงติดมาเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้พืชโตช้า หรือตายเร็ว เผลอ ๆ อาจจะแพร่กระจายโรคพืชไปยังต้นไม้ต้นอื่นด้วย ดังนั้นก่อนเลือกพันธุ์ไม้มาปลูกในกระถาง ก็ควรต้องเลือกพืชที่มีใบเขียวสด และลำต้นแข็งแรง ดูพร้อมจะเจริญเติบโตได้อย่างดี เคลื่อนย้ายกระถางไม่ลำบากด้วย

 5. ดูแลให้ถูกต้อง

          เพื่อให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตได้อย่างดี มีความสวยงามแข็งแรง จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกระถางบ่อย ๆ เราก็ควรดูแลต้นไม้ในกระถางให้ถูกวิธี ด้วยการเลือกใช้ดินให้เหมาะสมกับชนิดพืช อย่าลืมปนกรวดลงไปในดินเพื่อให้ช่วยยึดพืช และเพิ่มช่องว่างให้อากาศและน้ำถ่ายเทได้สะดวก ไม่ขังอยู่ในกระถางจนรากเน่า นอกจากนี้ควรรดน้ำอย่างพอดีกับต้นไม้ และหมั่นนำไปวางกลางแจ้ง เพื่อเปิดโอกาสให้พืชได้รับแสงอาทิตย์ไว้คอยสังเคราะห์แสงด้วย แต่ก็ไม่ควรตั้งกระถางต้นไม้ในที่ที่มีความร้อนหรือแดดแรงจนเกินไป ลมโกรกมาก ๆ ก็ไม่เหมาะ เพราะอาจจะทำให้ลำต้นโย้เอียงได้


 6. จัดเรียงกระถางให้เหมาะสม

          เราสามารถเลือกปลูกดอกไม้ในกระถางได้หลายชนิด แต่ก็ควรจัดวางกระถางให้เหมาะสม โดยจัดวางกระถางในตำแหน่งที่แสงสามารถส่องถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญต้องจัดเรียงลำดับกระถางให้ดี เแนะนำให้เรียงตามลำดับความสูง กระถางที่มีต้นไม้สูง ๆ ก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่จะบังแสงที่จะส่องไปถึงต้นไม้เล็ก ๆ ได้ จะได้ไม้แย่งแสงกัน พาให้ต้นไม้พันธุ์ที่เตี้ยกว่า เสียโอกาสรับธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่

 7. รดน้ำอย่างถูกวิธี

          หากสังเกตเห็นว่าหน้าดินเริ่มแห้ง ก็แสดงว่าต้นไม้เริ่มขาดน้ำ แต่การจะรดน้ำต้นไม้ในกระถางให้ต้นไม้ได้น้ำอย่างเต็มที่ อันดับแรกต้องดูที่ชนิดต้นไม้ก่อน ว่าเป็นพืชที่ชอบน้ำมากน้อยแค่ไหน ถ้าชอบน้ำน้อย ให้รดน้ำด้วยวิธีใช้ขวดสเปรย์ฉีดพรมจนชุ่มก็ได้ แต่ถ้าเป็นต้นไม้ชนิดที่ชอบน้ำมาก ให้ค่อย ๆ ใช้น้ำอุ่นรดลงไปที่หน้าดิน เพราะน้ำอุ่นจะซึมลงสู่ดินได้ง่ายกว่าน้ำอุณหภูมิปกติ ระหว่างที่รดน้ำก็ค่อย ๆ ใช้ดินสอหรือตะเกียบจิ้มดินให้เป็นรู เพื่อช่วยให้น้ำซึมลงสู่รากได้อย่างทั่วถึง

 8. ให้ปุ๋ยและสารอาหารสม่ำเสมอ

          ต้นไม้อาจจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ถ้าเราไม่ให้ปุ๋ยเป็นอาหารเสริมเลย ดังนั้นนอกจากการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างการรดน้ำพรวนดินแล้ว เราก็ควรต้องใส่ปุ๋ยและกำจัดแมลง รวมถึงศัตรูพืชด้วย จะเลือกใช้น้ำหมักธรรมชาติ หรือปุ๋ยตามชนิดที่พืชต้องการก็ได้ หมั่นดูแลเขาอย่างสม่ำเสมอ เขาจะได้เติบโตสวยงามให้เราชื่นชมไปนาน ๆ นะคะ

 9. ตัดแต่งสักนิด

          ต้นไม้ที่มีใบแห้ง เริ่มเหลือง หรือกิ่งเริ่มไม่สวยงาม เราก็ควรตัดแต่งกิ่ง ริดใบเหลือง ๆ และคอยตรวจตราดูเพลี้ยและศัตรูพืชอยู่เสมอ เพราะการริดใบที่เริ่มเน่า ใบที่เป็นโรค และการตัดแต่งกิ่งส่วนเกิน จะช่วยรักษาระดับน้ำและสารอาหารให้พืช ไม่ต้องส่งไปยังกิ่งหรือใบเหล่านี้อีก แต่การตัดแต่งกิ่งหรือริดใบทุกครั้งควรใช้อุปกรณ์ตัดแต่งกิ่งด้วยนะคะ เพราะหากริดใบด้วยมือ อาจจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงราก ทำให้รากของต้นไม้เสียหายได้

 10. ถึงเวลาเปลี่ยนถ่าย
          
          เมื่อพืชเริ่มหยุดการเจริญเติบโต และไม่ค่อยรับน้ำแล้ว ก็ให้ตรวจสอบดูที่รากของต้นไม้ได้เลย เพราะนี่คือสัญญาณที่บอกว่า ถึงเวลาต้องเปลี่ยนกระถางเพราะต้นไม้โตเกินกว่าที่จะอยู่ในกระถางเดิมแล้ว เอาล่ะ! ได้เวลาย้ายที่อยู่ไปยังกระถางที่ใหญ่กว่า หรือบางต้นที่มีรากเยอะมาก ก็อาจจะแยกปลูกเป็น 2-3 กระถางได้เลยจ้า

                        

     
ขอบคุณสาระดี ๆ จาก kapook.com









ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.gardengolden.com/


วิธีดูแลต้นไม้ในหน้าร้อน


          1. การรดน้ำ ควรรดในตอนเช้าหรือเย็น ช่วงที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป ซึ่งเวลาที่เหมาะสม คือ 6.00 - 8.00 น. และ 17.00 ถึง 21.00 น. ไม่ควรรดน้ำในตอนกลางวันที่แดดจัด เพราะเปรียบเสมือน การเอาน้ำร้อนมารดต้นไม้นั่นเอง อาจรดวันละครั้งในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือรดวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
          วิธีรด คือ ควรรดรอบโคนต้นไม้ให้ชุ่มและรดพุ่มใบ ด้วยเพื่อให้ใบพืชซึมซับน้ำ เข้าทาง ปากใบ และลดการคายน้ำ หลังรดน้ำสายยางควรม้วนเก็บให้เรียบร้อย ไม่ควรวางทับสนามหญ้า เพราะนอกจาก จะดูไม่เรียบร้อย น้ำที่ค้างอยู่ในสายยางที่ตากแดดจัดจะร้อนทำให้หญ้าตายได้
          2. การใส่ปุ๋ย พยายาม อย่าให้เม็ดปุ๋ยติดค้างอยู่ที่ใบและยอด เพราะจะทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้ หรือใส่ก่อนรดน้ำ สำหรับการใส่ปุ๋ยทางใบและฉีดยาฆ่าแมลง ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่อากาศร้อนจัด จะทำให้ใบไหม้และไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ เพราะในช่วงที่อากาศร้อน ปากใบพืชจะปิดเพื่อลดการคายน้ำ การใส่ปุ๋ยไม่ควรใส่บ่อยเกินไปถ้าไม่จำเป็น จะเป็นการเร่งการแตกใบใหม่ ซึ่งใบอ่อนจะไม่ทน กับอากาศ และแสงแดดที่ร้อนจัด
          3. การพรวนดินให้ร่วนซุยเป็นประจำ จะ ทำให้ดินโปร่ง มีช่องว่างในเนื้อดินดูดซับน้ำไว้ได้มาก ทำให้น้ำซึมซับลงในดินในระดับที่ลึกกว่าปกติ ถ้าดินแห้งเกินไปอาจใช้วัสดุปลูกมาคลุมแปลงหรือโคนต้น ช่วยดูดซับน้ำ เช่น กาบมะพร้าวสับหรือหญ้าที่แห้งและปราศจากเชื้อโรคและวัชพืช
          4. ควรมีการตัดแต่งกิ่ง กระโดง กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ไม่มีความจำเป็น เพื่อลดการคายน้ำของพืช

ที่มา : http://guru.sanook.com/7106/

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



วิธีการปักชำแบบควบแน่น

         วิธีการขยายพันธุ์พืช ด้วยการปักชำแบบควบแน่น โดยแนวคิดของนายเฉลิม พีรีจาก ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านวัดใหม่ ๗๕ หมู่ ๓ ต.บึงสามัคคี 
อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร 089 – 5670591


          วิธีนี้ใช้ได้กับพืชผักและผลไม้ ๓๐ กว่าตัวอย่าง สามารถขยายได้ทีละมากๆ เมื่อเกิดน้ำท่วม
หรือลมพัดต้นแม่พันธุ์เสียหาย สามารถใช้วิธีนี้อนุรักษ์พันธุ์พืชได้ การขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้านแบบควบแน่นอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีการที่สามารถลดเวลา ต้นทุนและการดูแลรักษา สามารถกำหนดปริมาณของผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและการบริโภคได้อย่างแม่นยำ การขยายพันธุ์มะนาว แบบควบแน่น
องค์ประกอบในการควบแน่นมะนาว มีดังนี้
ยอดมะนาว ความแก่อ่อน ๔๐ – ๖๐%
น้ำสะอาด
แก้วพลาสติค ขนาดบรรจุ ๑๐ ออนซ์ (หรือภาชนะที่ขนาดใหญ่กว่า ดูตามขนาดของยอดหรือกิ่งมะนาว)
ถุงพลาสติคใสขนาด ๖ ๑๑ นิ้ว (หรือขนาดใหญ่กว่า )
ยางวงเส้นเล็ก หรือเชือก


วิธีทำ
เก็บดินจากบริเวณที่มีอินทรีวัตถุน้อย ทำดินให้ร่วนซุย
พรมน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วปั้นดู พอติดมือ (กำพอเป็นก้อน)
นำดินใส่ให้เต็มแก้วพลาสติคหรือภาชนะกระถางที่จะใช้ โดยแบ่งใส่ ๓ ครั้ง แต่ละครั้งกดดินให้แน่น ระดับ ๘๐%
ใช้ไม้แหลมหรือกรรไกรเสียบตรงกลางภาชนะที่ใส่ดินให้ลึกไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วนของแก้ว
ใช้กรรไกรคม ตัดยอดมะนาวตามที่ต้องการ ตัดให้ยาวประมาณ ๑๒ – ๑๘ ซม. ข้อสำคัญ อย่าให้แผลที่ตัดเปลือฉีก จะออกรากไม่ดี
ใช้กรรไกรตัดหนามออกให้หมด ป้องกันหนามแทงถุง ถ้าอากาศเข้าจะออกรากยาก
นำยอดมะนาวเสียบลงในรูที่เสียบไว้ ให้สุด
กดดินรอบกิ่งมะนาวให้แน่น อย่าให้หลวม จะออกรากยาก
นำถุงพลาสติคครอบลงแล้วรัดด้วยยางวงจำนวน ๒ เส้น แล้วดึงก้นถุงให้ยางไปรัดอยู่ที่ขอบปากแก้ว


 การกลับถุง มีวิธีดังต่อไปนี้
๑.ให้นำถุงออกจากแก้ว ช่วงประมาณ ๑๘.๐๐ น. เพื่อป้องกันความร้อน
๒.นำถุงออกแล้ว นำแก้วมะนาวที่ออกรากแล้ว ใส่กลับลงไปในถุง (เปิดปากถุงไว้ ไม่ต้องใช้ยางวงรัด)
๓.ทิ้งไว้ในร่มรำไร ประมาณ ๕ – ๗ วัน ค่อยนำแก้วมะนาวออกจากถุง เพื่อให้มะนาวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
๔.หลังจากนั้นนำแก้วมะนาวที่ออกจากถุง พักตัวไว้ในร่ม ๗ – ๑๐ วัน ค่อยนำไปเพาะในกระถาง หรือนำไปปลูกได้เลยนำไปเก็บไว้ในที่ร่มรำไร หลังจากนั้น ๑๕ – ๒๐ วัน ให้ตรวจดูราก พอพบรากให้ปล่อยจนรากมีสีน้ำตาลค่อยกลับถุง





ที่มา http://www.farmthailand.com/1178

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์                           
1.ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดี เช่น มีความโปร่งร่วนซุย มี 2.2      ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี
2. สามารถอยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
3. ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดิน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น

ข้อด้อยของปุ๋ยอินทรีย์     
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยต่ำ ต้องใช้ปริมาณมาก
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาสูง
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ได้

ข้อดีของปุ๋ยเคมี
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่อน้ำหนักปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเล็กน้อยก็เพียงพอ
2. ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้เร็ว
3. ราคาต่อน้ำหนักของธาตุอาหารพืชมีราคาต่ำ สะดวกต่อการขนส่งและเก็บรักษา
4. หาซื้อง่าย เพราะเป็นผลิตผลที่ผลิตได้จากโรงงาน สามารถผลิตได้จำนวนมาก

ข้อด้อยของปุ๋ยเคมี
1. ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน คือ ไม่ช่วยทำให้ดินโปร่ง
2. ปุ๋ยเคมีบางชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนีย ถ้าใช้ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น ต้องแก้โดยการใส่ปูนขาว
3. การใช้ปุ๋ยเคมีต้องระมัดระวัง เพราะปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใส่มากหรือใส่ติดโคนต้นพืชจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชและการงอกของเมล็ด
4. ผู้ใช้ปุ๋ยเคมีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยพอสมควร จึงจะใช้อย่างได้ผลตอบแทนคุ้มค่า



ที่มา http://www.panmai.com/Tip/Tip01/Tip01.shtml





                                                                         การเพาะปลูกคะน้า
การเตรียมแปลงปลูก หรือในกระถาง
                1. ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง
                2. ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1

          


                การเพาะกล้าผักคะน้า
ทำได้ 2 แบบ คือ
1. เพาะในถาดพลาสติกเพาะกล้า
                1. ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า
                2. ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้าขนาดความลึก 0.5 ซม.
                3. นำเมล็ดผักคะน้าหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด
                4. กลบดินผิวหน้าเมล็ดผักคะน้า แล้วรดน้ำ และป้องกันมดมาคาบเมล็ดไปจากถาดพลาสติกเพาะกล้า โดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นรอบรูปล้อมถาดเพราะไว้
                5. หลังเพาะนาน 7-10 วัน ผักคะน้าเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นผักคะน้าทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้งในช่วงเช้า และเย็น จนกระทั่งต้นผักคะน้ามีอายุ 20-25 วัน จึงย้ายกล้าผักคะน้าลงปลูกในกระถาง หรือในแปลงปลูก
2. เพาะในแปลง
                1. หลังจากเตรียมดินในแปลงปลูกแล้ว ใช้จอบขุดเป็นแถวปลูก ระหว่างแถวละ 25 ซม. ความลึกผิวดิน 2-3 ซม.
                2.โรยเมล็ดพันธุ์ผักคะน้าบางๆ ตามแถวปลูกที่เตรียมไว้
                3. กลบหน้าดินในแปลง และรดน้ำทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเข้าและเย็น
                4. หลังเพาะนาน 7-10 วัน ผักคะน้าเริ่มงอก และควรรดน้ำทุกวัน

   การดูแลรักษา
1. ถ้าทำการย้ายกล้าจากถาดพลาสติกเพาะกล้าลงปลูกในแปลง หรือในกระถางปลูก
                1. ผักคะน้าที่ย้ายกล้าลงในแปลง หรือในกระถาง ให้รดน้ำทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น
                2. หลังย้ายปลูก 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ทุกครั้งที่หว่านปุ๋ยเคมี ต้องรีบรดน้ำตามทันที
2. ถ้าทำการเพาะในแปลง
                1. ถ้าโรยเมล็ดผักคะน้าบางๆ ในร่องปลูกของแปลงที่เตรียมดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องถอนแยก หรือย้ายปลูกอีก แต่สามารถดูแลบำรุงรักษาเลี้ยงให้เป็นต้นที่สมบูรณ์ จนกระทั่งสามารถตัดมาบริโภคได้
                2. การบำรุงดูแลผักคะน้าในแปลงควรหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อพื้นที่ 1ตารางเมตร ทุกๆ 10-15 วัน และทุกครั้งที่หว่านปุ๋ยเคมีต้องรีบรดน้ำตามทันที
   
    การให้น้ำ
                1. คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ
                2. การให้น้ำให้ใช้ฝักบัวฝอยรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น
  
    โรคและแมลง
                โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา ป้องกันโดยไม่หว่านเมล็ดคะน้าให้แน่นเกินไป ระบายน้ำให้ดี อย่าให้น้ำขังแฉะในแปลงขณะเป็นต้นกล้า หรือยกแปลงนูนสูงเพื่อให้ระบายน้ำให้เร็ว ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อราละลายน้ำในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆ รดลงไปบนผิวดินให้ทั่วสัก 1-2 ครั้ง

                โรคราน้ำค้าง การป้องกันและกำจัด ให้ฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไซแน็บมาแน็บเบนเลทไดโฟลาแทนเบนโนมิลดาโคนิลแคปแทน หรือยาชนิดอื่นๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ แต่สารประกอบทองแดงไม่ควรใช้ในระยะที่ยังเป็นต้นกล้า เพราะจะเป็นพิษต่อต้นกล้า

                โรคแผลวงกลมสีน้ำตาลไหม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา การฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อราอยู่เสมอจะช่วยป้องกันกำจัดเชื้อรานี้และเชื้อราโรคอื่น ๆ ด้วย

                หนอนกระทู้ผัก หมั่นตรวจดูสวนผักบ่อย ๆ เมื่อพบหนอนกระทู้ฟักให้ทำลายเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดลุกลามต่อไป หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมโธมิล ให้อัตรา 10-12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออาจใช้เมวินฟอส 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร
                หนอนคืบกะหล่ำ ตรวจดูไข่หรือตัวหนอนในระยะเล็กๆ หากพบให้ใช้สารกำจัดแมลงฉีดพ่น เช่น ฟอสดริลแลนเนท เป็นต้น หากใช้ในขณะที่หนอนยังมีขนาดเล็กจะได้ผลดี หากการระบาดมีอยู่ตลอดเวลาควรพ่นสารกำจัดแมลงดังกล่าว 5-7 วันต่อครั้ง

         การเก็บเกี่ยว
                หลังจากคะน้างอกแล้วประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เริ่มทำการถอนแยกครั้งแรก โดยเลือกถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้นไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งต้นอ่อนของคะน้าในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วสามารถนำไปขายได้ และเมื่อคะน้ามีอายุได้ประมาณ 30 วัน จึงทำการถอนแยกครั้งที่ 2 โดยให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 20 เซนติเมตร และต้นคะน้าที่ถอนแยกออกมาในวัยนี้ตัดรากออกแล้วส่งขายตลาดเป็นยอดผักได้ เช่นกัน เมื่อคะน้ามีอายุอยู่ที่ประมาณ 45-55 วันหลังปลูก จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ครั่งที่ 3 คะน้าที่ตลาดต้องการมากที่สุดคือ คะน้าที่มีอายุ 45 วัน แต่คะน้าที่มีอายุ 50-55 วัน เป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ำหนักมากกว่า วิธีการเก็บเกี่ยวคะน้าทำได้ดังนี้
                1. ใช้มีดคม ๆ ตัดให้ชิดโคนต้น
                2. ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง
                3. หลังตัดแล้วบางแห่งมัดด้วยเชือกกล้วยมัดละ 5 กิโลกรัม บางแห่งก็บรรจุเข่ง แล้วแต่ความสะดวกใน

การขนส่ง
การเก็บเกี่ยวคะน้าให้ได้คุณภาพดี รสชาติดี และสะอาด ควรปฏิบัติดังนี้
                1. เก็บในเวลาเช้าดีกว่าเวลาบ่าย
                2. ใช้มีดเล็กๆ ตัด อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ
                3. อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
                4. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
                5. ภาชนะที่บรรจุผักควรสะอาด

   เทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญการปลูกคะน้า
จาก นายปฐพี  พวงสุวรรณ์ เกษตรกรชุมชนนาคู จ.พระนครศรีอยุธยา
                1.  หลังหว่านแล้ว ไม่ต้องให้ปุ๋ยบำรุงต้น ให้ปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งต้นจะแดง ๆ แต่แข็งแรงแมลงไม่กวน ไม่เป็นโรค หลังจาก 37 วันไปแล้วค่อยให้ปุ๋ยบำรุงต้น บำรุงใบ รับรองไม่ว่าต้นเล็กต้นใหญ่ก็โตเท่ากันหมด
                2.   ตอนเย็นราดน้ำให้โชกนิดหนึ่ง ตอนเช้าจะเอาเรือมารดน้ำ ซึ่งการรดตอนเช้ามีประโยชน์คือ ล้างน้ำค้างเพราะน้ำค้างอาจทำให้เกิดเชื้อราทางใบได้พอประมาณ 10 โมงดินเริ่มร้อน รดน้ำอีกครั้งแบบโฉบ ๆ พอบ่ายสองโมงก็โฉบ ๆ อีกครั้ง เพื่อลดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดทั้งวัน พอทำแบบนี้แล้วก็ได้ผลจริง ๆ





การปลูกวิธีปลูกผักกาดหอม
การเตรียมดิน
                ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ได้ผลดีที่สุดในดินร่วน เพราะมีการระบายน้ำและอากาศดี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มีความชื้นในดินพอสมควร ชอบแดดจัด แปลงปลูกควรมีแสงเต็มที่ตลอดทั้งวัน ผักกาดหอมใบชอบอุณหภูมิประมาณ 21-26 องศาเซลเซียส ส่วนผักกาดหอมห่อหัวจะชอบอุณหภูมิประมาณ 15.5-21 องศาเซลเซียส

                                       
                แปลงเพาะกล้า ใช้สำหรับการปลูกผักกาดหอมห่อหัวเท่านั้น ส่วนผักกาดหอมใบสามารถหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกได้โดยตรง เตรียมแปลงเพาะกล้าด้วยการไถพลิกดินลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้ทั่ว พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงโรยเมล็ดลงเพาะ ใช้แปลงเพาะกล้าขนาด 2-2.5 ตารางเมตรสำหรับการปลูกผักกาดหอม 1 ไร่
                แปลงปลูก ควรไถพลิกดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ตากดินไว้7-10 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ คลุกให้เข้ากับดิน พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงหว่านเมล็ดหรือนำต้นกล้ามาปลูก

การเพาะกล้า
                การเพาะกล้าผักกาดหอมห่อสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 50 กรัม (ประมาณ 4 หมื่นเมล็ด) หลังจากเตรียมแปลงเพาะแล้วให้หว่านเมล็ดลงบนแปลงให้กระจายไปทั่วแปลง หรือจะใช้วิธีโรยเป็นแถว ระยะห่างแถวประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใช้ดินที่ผสมกับปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนออกบ้างเพื่อไม่ให้เบียดกันเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า ต้นกล้าอ่อนแอและตายได้ง่าย เมื่อต้นกล้ามีอายุ 25-30 หรือมีใบจริง 3-4 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลง

การปลูก
                ฤดูปลูกผักกาดหอมในประเทศไทยนั้น ผักกาดหอมใบสามารถปลูกได้ตลอดปี ส่วนผักกาดหอมห่อหัวปลูกได้ผลดีในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
                การปลูกผักกาดหอมใบ ใช้วิธีหว่านเมล็ดให้กระจายทั่ว ทั้งผิวแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หรือโรยเมล็ดลงในแปลงเป็นแถวก็ได้ ก่อนหว่านเมล็ดควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทนหรือไธแรม เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่ากลบหนา ประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร แล้วคลุมดินด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด
                เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนต้นที่อ่อนแอทิ้ง ไม้ให้ต้นแน่นทึบเกินไป จัดระยะระหว่างต้น 20×20 เซนติเมตร หรือ 30×30 เซนติเมตร หากปลูกในช่วงหน้าร้อนควรมีการคลุมแปลงปลูกเพื่อพรางแสงแดด จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ทำโครงสูง 2-2.5 เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่พาดและมุงด้วยทางมะพร้าว

สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ประมาณ 1-2 ลิตร แต่ถ้าใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวโดยมีระยะระหว่างแถวประมาณ 20 เซนติเมตร จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 100-160 กรัมต่อไร่
                การปลูกโดยการย้ายกล้าปลูก ก่อนย้ายกล้าประมาณ 2-3 วัน ควรงดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นกล้าแกร่งไม่เปราะง่าย ควรย้ายกล้าในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น หรือช่วงที่อากาศมืดครึ้ม ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำพอดินเปียกเพื่อให้ถอนได้ง่าย การย้ายควรทำด้วยความระมัดระวังเพาะต้นกล้าบอบช้ำง่าย การถอนไม่ควรใช้วิธีจับต้นดึงขึ้น ทางที่ดีควรหาแผ่นไม้บางๆ หรือเสียมเล็กๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้ดินเป็นก้อนติดกับต้นกล้าให้มากที่สุด แล้วรีบนำไปปลูกให้เร็วที่สุด ควรเลือกเฉพาะต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ไปปลูก ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวที่เหมาะสมคือผักกาดหอมใบใช้ระยะ 25×30 เซนติเมตร ผักกาดหอมห่อหัวหัวใช้ระยะปลูก 40×40 เซนติเมตร
                การปลูกที่ถูกวิธีคือ ใช้มือจับใบเลี้ยงคู่แรกใบใดใบหนึ่งแล้วหย่อนโคนลงไปในหลุม แล้วกลบดินลงไปให้เสมอระดับหลังแปลง กดดินให้จับรากพอสมควร จากนั้นใช้บัวฝอยละเอียดรดน้ำรอบๆ ต้นให้น้ำค่อยๆ ไหลไปหากันที่หลุม อย่ารดกรอกไปที่ต้น ถ้าเตรียมดินปลูกดีน้ำจะซึมไหลลงหลุมเร็วที่สุด คลุมดินรอบๆ โคนต้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรทำร่มบังแดดให้ในวันรุ่งขึ้น อาจใช้กะลาครอบกาบกล้วยเสียบไม้บัง หรือใช้ไม้บังรอบๆ หรือใช้กระทงใบตอบปิดก็ได้ ควรปิดบังแดดไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเอาออก เพื่อช่วยให้ต้นกล้าฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
การดูแลรักษา
                การให้น้ำ ผักกาดหอมเป็นผักรากตื้น จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ โดยในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังจากย้ายปลูกควรให้น้ำทุกวันในตอนเช้าและเย็น โดยใช้บัวฝอยละเอียดรดรอบๆ โคนต้น ไม่รดจนแฉะเกินไป และให้น้ำแบบวันเว้นวันในสัปดาห์ต่อๆ มา สำหรับผักกาดหอมห่อหัว การให้น้ำควรดูจากสภาพความชื้นในดินเป็นหลัก โดยมีข้อควรระวังคือระยะที่กำลังห่อหัวไม่ควรให้น้ำไปถูกหัวเพราะอาจทำให้ เกิดโรคเน่าเละได้
                การใส่ปุ๋ย ช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้นประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ ควรใส่ปุ๋ยยูเรียเมื่อผักกาดหอมอายุได้ 7 วัน โดยละลายน้ำรดในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร รดวันเว้นวัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก
                เมื่อผักกาดหอมอายุได้ 15-20 วัน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สำหรับพันธุ์ใบ และใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-13 สำหรับพันธุ์ห่อหัว ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ผักกาดหอมต้องการธาตุโปแตสเซียมมากกว่าไนโตรเจน โปแตสเซียมจะช่วยให้ใบผักกาดหอมบางและไม่มีรอยจุดบนใบ หากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปใบจะมีสีเขียว รสชาติไม่อร่อย
                การใส่ปุ๋ยผักกาดหอมพันธุ์ใบควรใส่หมดในครั้งเดียวตอนเตรียมดินปลูก แต่สำหรับผักกาดหอมห่อหัวควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใส่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน โดยใส่ตอนปลูกแล้วพรวนดินกลบ ส่วนที่เหลือใส่เมื่ออายุได้ 21 วัน โดยโรยข้างต้นห่างๆ แล้วพรวนดินกลบฃ


Cr. http://goo.gl/LefcDl





                                               


เพาะเมล็ดทานตะวันงอกไว้กินเอง


อุปกรณ์ที่ในการเพาะเมล็ดทานตะวัน
          1. เมล็ดทานตะวันสีดำ ( black oil sunflower seeds ) สีดำ ๆ ที่ร้านขายอาหารนกหรือร้านอาหารสัตว์นั่นแหล่ะ เอาพันธุ์สีดำถ้าพันธุ์เมล็ดสีลาย ๆ ขาวดำไม่เอานะ เพราะอัตราการงอกมันน้อย มันงอกยาก
          2. ถาดหรือกระบะทึบแสง 2 อัน
          3. ดิน
          4. สเปรย์ฉีดน้ำเปล่า

วิธีเพาะเมล็ดทานตะวันงอก
            แช่เมล็ดทานตะวันในน้ำไว้หนึ่งคืน ใช้เมล็ดสักครึ่งถ้วย-หนึ่งถ้วยก็พอ


          เตรียมถาด 2 ใบ ไม่ต้องเจาะรูระบายน้ำหรือถ้ามีรูก็ไม่เป็นไรใส่ดินลงไปสูงครึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้ว สเปรย์น้ำให้ทั่วดินพอชุ่มๆห้ามแฉะมาก

   โรยเมล็ดทานตะวันที่แช่น้ำแล้วกระจายให้ทั่วในกระบะสเปรย์น้ำอีกครั้งให้ทั่วแล้วใช้กระบะอีกใบคว่ำปิดทับด้านบน
      เปิดรดน้ำด้วยสเปรย์วันละ ครั้ง เช้า-เย็น หลังรดน้ำแล้วปิดกระบะไว้เช่นเดิมเพื่อเก็บความชื้นเมล็ดจะได้งอกไว ๆ

          
          ค่อย ๆ มีรากโผล่ออกมาให้เห็น มีขนสีขาวๆที่รากเต็มไปหมด สักสามสี่วันจะสูงประมาณ นิ้ว

          เริ่มผลิใบ 1 คู่ ให้หงายกระบะวางทับไว้ด้านบน บังคับให้ต้นทานตะวันงอกในระดับเดียวกันสเปรย์รดน้ำเช้า-เย็น แล้วก็วางกระบะทับไว้ด้านบนเช่นเดิม 2-3 วัน

          ตอนนี้ลำต้นสูงประมาณ 2- 3 นิ้ว เอากระบะที่วางทับไว้ออกได้ จะเห็นใบมีสีเหลืองเนื่องจากไม่โดนแสง
เอาวางถาดไว้ในที่ร่มห้ามโดนแสงแดด ไม่กี่ชั่วโมงใบทานตะวันจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวสเปรย์รดน้ำเช้า-เย็น

          วันที่ 7-11 สามารถเก็บเกี่ยวมากินได้ตามความชอบ (ถ้าปล่อยไว้นานจะเริ่มมีใบเลี้ยงคู่ที่สองออกมา 
รสชาติจะไม่ค่อยอร่อย)


จวนจะได้เวลากินแหล่ววววว...เหอๆๆ
เวลาตัดรากก็ใช้กรรไกรตัด รวบมาเป็นกำๆ แล้วก็ตัดงับๆๆๆ ล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้งสะเด็ดน้ำ แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นนะ







เกร็ด!!ความรู้ของ "ดอกกุหลาบ"

           กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา

โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น
         ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น

 ประเภท

          กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้
1. กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) คารล์ เรด (Carl Red: แดง) โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) เฟิร์สเรด (First Red: แดง) โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) บิอังกา (Bianca: ขาว) โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น

2. กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) คิสส์ (Kiss: ชมพู) โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น

3. กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) เอสกิโม (Escimo: ขาว) โมเทรีย (Motrea: แดง) เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น

4. กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น

5. กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี


 สายพันธุ์

          การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้
          1. มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
          2. อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถปานได้ทนถึง 16 วัน
          3. กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
          4. กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
          5. สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
          6. กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
          7. มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง

 การขยายพันธุ์กุหลาบ
          กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ

 สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
           พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว

 การให้น้ำ และปุ๋ยกุหลาบ 
            การให้น้ำ ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
              การให้ปุ๋ยก่อนปลูก ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
- ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
- ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
             ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
 การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก 
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
           การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
          การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
           สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9

การตัดแต่งกิ่งกุหลาบ 
             การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูกเมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำ การตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งปี

 โรคกุหลาบ
            กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา
โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง

 แมลงและไรศัตรูกุหลาบ
ไรแดง (Spider mite)
เพลี้ยไฟ (Thrips)
หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliothis armigera)
หนอนกระทู้หอมหรือหนอนหนังเหนียว (onion cutworm: Spodoptera exigua)
ด้วงกุหลาบ (rose beetle: Adoretus compressus)
เพลี้ยหอย (scale insect: Aulucaspis rosae)
เพลี้ยอ่อน (aphids: Macrosiphum rosae และ Myzaphis rosarum)

 การเก็บเกี่ยว
ระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวกุหลาบ คือ ตัดเมื่อดอกตูมอยู่หรือเห็นกลีบดอกเริ่มแย้ม (ยกเว้นบางสายพันธุ์) หากตัดดอกอ่อนเกินไปดอกจะไม่บาน ในฤดูร้อนควรตัดในระยะที่ยังตูมมากกว่าการตัดในฤดูหนาวเพราะดอกจะบานเร็วกว่า

 ประโยชน์ 
ปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน เพิ่มบรรยากาศ ใช้ประดับตกแต่งบ้าน งานเลี้ยง งานแต่งงาน ปลูกเพื่อส่งดอกขาย เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น


Cr. http://songkran37.blogspot.com/p/blog-page_28.html


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นาฬิกา

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Facebook

ปฎิทิน

รีวิวลูกค้า